เที่ยวสะใจ ไปทั่วโลก เปิดเมือง มะริด ทวาย ประเทศพม่า ตอนล่าง ตะนาวศรี โทร 098-0641749
วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558
หมึกแดดเดียว หมึกกะตอย หมึกตากแห้ง ช่วงนี้ชาวทะเล บางเบิดน็อคหมึกครับ ตามไปดู
ปลาหมึกแห้ง www.sunitjotravel.com

ส่วนผสม
ปลาหมึกกล้วย หรือหมึกหอม (นิยมใช้หมึกกล้วย)
อุปกรณ์
๑. มีดปลายแหลม
๒. ตะแกรง หรือเข่งพลาสติก
๓. แผงตากหมึก
วิธีทำ
๑. นำปลาหมึกสดมาล้างน้ำให้สะอาด
๒. ใช้มีดผ่าด้านหน้าท้องของปลาหมึกให้ยาวตลอดจนสุดปลายหางแล้วแบะออกให้แบนราบ ดึงขี้ปลาหมึกและส่วนที่ไม่ต้องการออก
๓. ใช้มีดผ่าด้านหัวแล้วแบะออก ใช้ปลายมีดควักลูกตาและปากของปลาหมึกออกมา
๔. นำไปล้างน้ำอีกครั้ง แล้ววางในตะแกรง เพื่อรอนำไปตาก
๕. เวลาตากนำปลาหมึกไปวางเรียงในแผงตาก โดยแผ่ปลาหมึกให้แบนราบ
๖. การตากแดดใช้เวลาประมาณ ๒ วัน โดยพลิกกลับปลาหมึกวันละ ๑ ด้าน

ประโยชน์
๑. สามารถเก็บไว้นาน โดยคุณภาพไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
๒. รสชาติอร่อย เป็นที่นิยม

ส่วนผสม
ปลาหมึกกล้วย หรือหมึกหอม (นิยมใช้หมึกกล้วย)
อุปกรณ์
๑. มีดปลายแหลม
๒. ตะแกรง หรือเข่งพลาสติก
๓. แผงตากหมึก
วิธีทำ
๑. นำปลาหมึกสดมาล้างน้ำให้สะอาด
๒. ใช้มีดผ่าด้านหน้าท้องของปลาหมึกให้ยาวตลอดจนสุดปลายหางแล้วแบะออกให้แบนราบ ดึงขี้ปลาหมึกและส่วนที่ไม่ต้องการออก
๓. ใช้มีดผ่าด้านหัวแล้วแบะออก ใช้ปลายมีดควักลูกตาและปากของปลาหมึกออกมา
๔. นำไปล้างน้ำอีกครั้ง แล้ววางในตะแกรง เพื่อรอนำไปตาก
๕. เวลาตากนำปลาหมึกไปวางเรียงในแผงตาก โดยแผ่ปลาหมึกให้แบนราบ
๖. การตากแดดใช้เวลาประมาณ ๒ วัน โดยพลิกกลับปลาหมึกวันละ ๑ ด้าน

ประโยชน์
๑. สามารถเก็บไว้นาน โดยคุณภาพไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
๒. รสชาติอร่อย เป็นที่นิยม
วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558
ปูม้า ปูหิน ปูทะเล ตัวใหญ่ มาก ที่เป็นข่าว ที่นี่ หาดบางเบิด บางสะพานน้อย ประจวบคีรีขันธ์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปูม้า
ปูม้าตัวผู้
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ไฟลัมย่อย: Crustacea
ชั้น: Malacostraca
อันดับ: Decapoda
อันดับฐาน: Brachyura
วงศ์: Portunidae
สกุล: Portunus
สปีชีส์: P. pelagicus
ชื่อทวินาม
Portunus pelagicus
(Linnaeus, 1758)
ปูม้า (อังกฤษ: Flower crab, Blue crab, Blue swimmer crab, Blue manna crab, Sand crab; ชื่อวิทยาศาสตร์: Portunus pelagicus) จัดเป็นปูที่อาศัยอยู่ในทะเลชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในสกุล Portunus ซึ่งพบทั้งหมด 90 ชนิดทั่วโลก และพบในน่านน้ำไทยราว 19 ชนิด
1 ลักษณะ
2 การกระจายพันธุ์
3 การขยายพันธุ์
4 ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
5 อ้างอิง
ลักษณะ[แก้]
ลักษณะทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนตัว, อก และท้อง ส่วนหัวและอกจะอยู่ติดกัน มีกระดองหุ้มอยู่ตอนบน ทางด้านข้างทั้งสองของกระดองจะเป็นรอยหยักคล้ายฟันเลื่อยเป็นหนามแหลมข้างละ 9 อัน ขามีทั้งหมด 5 คู่ด้วยกัน คู่แรกเปลี่ยนแปลงไปเป็นก้ามใหญ่เพื่อใช้ป้องกันตัวและจับอาหาร ขาคู่ที่ 2, 3 และ 4 จะมีขนาดเล็กปลายแหลมใช้เป็นขาเดิน ขาคู่สุดท้ายตอนปลายมีลักษณะเป็นใบพายใช้ในการว่ายน้ำ ขนาดกระดองสามารถโตเต็มที่ได้ราว 15-20 เซนติเมตร
การกระจายพันธุ์
สำหรับปูม้าในประเทศไทยสามารถพบได้แทบทุกจังหวัดทั้งฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย โดยอาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำและแถบชายฝั่งทะเล
การขยายพันธุ์
ปูม้าตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะแตกต่างกันที่จับปิ้งและสี ตัวผู้มีก้ามยาวเรียวกว่า มีสีฟ้าอ่อนและมีจุดขาวตกกระทั่วไปบนกระดองและก้าม พื้นท้องเป็นสีขาว จับปิ้งเป็นรูปสามเหลี่ยมเรียวสูง ตัวเมียจะมีก้ามสั้นกว่ากระดองและก้ามมีสีฟ้าอมน้ำตาลอ่อนและมีจุดขาวประทั่วไปทั้งกระดองและก้าม เมื่อถึงฤดูกาลวางไข่ ปูม้าตัวเมียจะมีไข่ติดอยู่บริเวณระยางค์ซึ่งเคยเป็นขาว่ายน้ำในระยะวัยอ่อน โดยในระยะแรกไข่จะอยู่ภายในกระดองต่อมากระดองทางหน้าท้องเปิดออกมาทำให้สามารถเห็นไข่ชัดเจน จึงมักเรียกปูม้าในระยะนี้ว่าปูม้าที่มีไข่นอกกระดอง ไข่นอกกระดองนี้ในขณะที่เจริญแบ่งเซลล์อยู่ภายในเปลือกไข่ สีของไข่จะค่อย ๆ เปลี่ยนจากสีเหลืองอมส้มเป็นสีเหลืองปนเทา สีเทาและสีเทาอมดำ ปูม้าที่มีไข่สีเทาอมดำนั้นจะวางไข่ภายใน 1-2 วัน
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
ปูม้า นับเป็นปูอีกชนิดหนึ่งที่มนุษย์ใช้ปรุงเป็นอาหารเช่นเดียวกับปูดำ (Scylla serrata) หรือปูทะเล โดยใช้ปรุงได้ทั้งอาหารยุโรป, อาหารจีน, อาหารญี่ปุ่นและอาหารไทย สำหรับอาหารไทยนั้นยังอาจปรุงเป็นส้มตำปูม้าได้อีกด้วย
ปูม้า จึงเป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่หน่วยงานภาครัฐ คือ กรมประมงได้ทำการเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงและส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไทยเลี้ยงในเชิงพาณิชย์
ดูเพื่มเติม คลิ๊ก www.sunitjotravel.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)